ประวัติวิทยาลัย 

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถนนแปดวา ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดสอนเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2486
เดิมชื่อโรงเรียนช่างทอผ้า สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2487 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า
พ.ศ. 2491 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนการช่างสตรีอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2516 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2525 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
ปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ เลขทะเบียน 1420/2484 มีพื้นที่ 9 ไร่ 3 งาน 45.3 ตารางวา

11 มีนาคม 2548
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายปรีชา บุตรศรี) ได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินของที่ราชพัสดุ โฉนดเลขที่ 7459 เลขที่ดิน 4 หมายเลขทะเบียนที่ อต.131 จำนวนเนื้อที่ 3 งาน 76.8 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 22.1 ตารางวา

30 พฤษภาคม 2550
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์) ได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินของที่ราชพัสดุ โฉนดเลขที่ 7459 เลขที่ดิน 75 หมายเลขทะเบียนที่ อต.131 รวมเนื้อที่ 3 ไร่ 77 ตารางวา จำนวน 3 แปลง คือ

แปลงที่ 1 พื้นที่บริเวณสนามเทนนิสและสโมสรจังหวัด จำนวน 2 ไร่ 2 งาน 91 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ (อาคารอินทนิล)
แปลงที่ 2 จำนวน 81 ตารางวาเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บกักขยะ
แปลงที่ 3 จำนวน 1 งาน 5 ตารางวาเพื่อใช้เป็นลานจอดรถของบุคลากร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 99.1 ตารางวา

7 ตุลาคม 2552
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์) ได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินของที่ราชพัสดุ โฉนดเลขที่ 7459 เลขที่ดิน 75 หมายเลขทะเบียนที่ อต.131 จำนวนเนื้อที่ 2 งาน 27.30 ตารางวา วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 26.4 ตารางวา

ทิศเหนือ ติดศูนย์วัฒนธรรม
ทิศใต้ ติดถนนจิตรเพลิน
ทิศตะวันออก ติดถนนแปดวา
ทิศตะวันตก ติดถนนประชานิมิตร

ขอบเขต รั้ววิทยาลัยก่ออิฐถือปูน ตอนบนเป็นเหล็กเส้นแนวตั้งยาว 130 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นผู้สร้างให้ด้วยเงินสลากกินแบ่งรัฐบาลพร้อมทั้งประตูเหล็ก รั้วนี้จัดทำส่วนที่เป็น เหล็กเส้นใหม่โดยตลอดด้วยเงินบำรุงการศึกษา ปี 2537 ใช้แรงงานนักการคนงาน ส่วนรั้วด้านอื่น เดิมเป็นรั้วสังกะสี พ.ศ. 2526 ได้สร้างใหม่เป็นรั้วก่ออิฐถือปูนเสริมเหล็ก ด้วยเงินบำรุงการศึกษา จำนวนเงิน 350,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

ถนนภายในวิทยาลัย เดิมเป็นถนนดินลูกรัง พ.ศ. 2529 ได้ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 สาย พร้อมทางระบายน้ำ โดยได้รับอนุญาตให้ใช้เงินบำรุงการศึกษาเป็นเงิน 560,091 บาท (ห้าแสนหกหมื่นเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน)

ปลายปี พ.ศ. 2529 ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินบำรุงการศึกษา จำนวนเงิน 273,127 บาท (สองแสนเจ็ดหมื่นสามพันหนึ่งร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) ขยายเขตติดตั้งเสาไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และเคลื่อนย้ายเสาไฟฟ้าเดิม 5 ต้น ให้เป็นระเบียบ

พ.ศ. 2530 ได้รับเงินงบประมาณซ่อมทางระบายน้ำ และปรับปรุงพื้นที่ เป็นเงิน 185,000 บาท(หนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2532 วางท่อประปา แยกมิเตอร์บ้านพักครู
พ.ศ. 2532 ซ่อมทางระบายน้ำ ด้วยเงินงบประมาณ 40,000 บาท และงบประมาณซ่อมแซมไฟฟ้า 49,353 บาท การจัดการศึกษา
พ.ศ. 2484 โรงเรียนช่างทอผ้า สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 2 ปี
พ.ศ. 2487 โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 2 ปี
พ.ศ. 2491 โรงเรียนการช่างสตรีอุตรดิตถ์ สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 2 ปี
พ.ศ. 2496 เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2503 ยกเลิกหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 3 ปี

เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาชั้นสูง หลักสูตร 3 ปี

พ.ศ. 2516 โรงเรียนอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.ศ. 4 -5 - 6 หลักสูตร 3 ปี เปิดสอนวิชาเอก 2 แขนง คือ
1.ผ้าและเครื่องแต่งกาย
2.อาหารและโภชนาการ

พ.ศ. 2518 เปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี ระดับวิชาชีพ (ปวช.) 1 ปี
พ.ศ. 2520 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
พ.ศ. 2522 เปิดสอนแผนกพาณิชยกรรม
พ.ศ. 2523 เปิดสอนแผนกคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ. 2524 เปิดสอนแผนกศิลปประยุกต์
พ.ศ. 2525 เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์

เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)

สาขาการเงินและการธนาคาร
พ.ศ. 2526 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาการบัญชี
พ.ศ. 2527 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการบัญชี
พ.ศ. 2532 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการตลาด
พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิจิตรศิลป์
พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาพณิชยการ

สาขางานธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี)
พ.ศ. 2543 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) คือ
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ม.6)
สาขาการบัญชี (ม.6)
สาขาธุรกิจค้าปลีกระบบทวิภาคี
พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สาขาวิชาออกแบบพาณิชย์ศิลป์, สาขาวิชาการตลาด (ม.6)
พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขางานการท่องเที่ยว
พ.ศ. 2550 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิค
สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิคอาร์ต
พ.ศ. 2551 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สาขางานการจัดการสำนักงาน และสาขางานการจัดการทั่วไป
พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิค สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิค
พ.ศ. 2555 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555)
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานการบัญชี สาขาบ่อเบี้ย
พ.ศ. 2556 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556)
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขางานการโรงแรม
พ.ศ. 2557 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558)
ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาศิลปกรรม สาขางานวิจิตรศิลป์
พ.ศ. 2559 ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. 2545 ปรับปรุง 2546 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร ปวส. 2546 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. หลักสูตร ปวช. 2556 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร ปวส. 2557
พ.ศ. 2559 เปิดสอนระดับปริญญาตรี (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. 2561 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561) ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาการดูแลผู้สูงอายุ
พ.ศ. 2562 เปิดสอนระดับปริญญาตรี (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562) หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการตลาด